วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

28 ธันวาคม วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

     

           สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า “สิน” พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗เป็นบุตรของ “ นายไหฮอง ” และ “ นางนกเอี้ยง ”ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์เมื่ออายุได้ ๕ ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส( วัดคลัง )โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจึงเรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เมื่ออายุได้ ๕ ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส( วัดคลัง )โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจึงเรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เมื่ออายุครบ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ )พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวรซึ่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนวิชากับอาจารย์จีน อาจารย์ญวนและอาจารย์แขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่วเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาสพระภิกษุสิน อยู่ในสมณเพศได้ ๓ พรรษา ก็ลาสิกขาและกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่างๆเป็นอย่างดีจนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวงครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ ๓ เดือนเศษก็ถวายราชสมบัติให้พระเชษฐาสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งนายสินปฏิบัติราชการได้สำเร็จเรียบร้อย จนมีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็โปรดให้เลื่อนเป็นพระยาตากเพื่อปกครองเมืองตาก


         ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทยโดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ปรากฎว่าพม่าตีเมืองทางใต้ได้อย่างง่ายดายจึงตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จนถึงเมืองเพชรบุรีทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทยซึ่งมีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตากไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขรต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีกพระยาตากได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้จึงได้บำเน็จความดีความชอบในสงครามจึงโปรดให้เลื่อนเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชร ก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญขึ้นจึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนครจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือดพระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ
๑. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้
๒. ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรีนั้นพระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบแต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื่อฟัง ขืนออกรบ และพ่ายแพ้แกพม่าจนตัวตายในที่รบพระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย
๓. ก่อนเสียกรุง ๓ เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนครทางด้านที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เมื่อเห็นจวนตัวพระยาวชิรปราการจึงยิงปืนใหญ่ขัดขวางโดยมิได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุน จึงถูกฟ้องชำระโทษให้ภาคทัณฑ์

             
          ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแนด้วยผู้นำอ่อนแอ และไม่นำพาต่อราชการบ้านเมืองจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมออกจากค่ายพิชัย มุ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงนับว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝางก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมายพระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพ สะสมเสบียงอาหารศาสตราวุธ และกองทัพเรืออยู่เป็นเวลา ๓ เดือนก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ตีเมืองธนบุรีแตกจับนายทองอินประหารแล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกยับเยินสุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น จากนั้น พระยาวชิรปราการจึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่๔”แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคมพ.ศ. ๒๓๑๑และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยและต่อจากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบทรงใช้เวลารวบรวมอณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงได้อณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอณาจักรเดียวกันดังเดิมสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษาทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า“มหาราช” คณะรัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้พร้อมใจกันสร้างอนุเสาวรีย์เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ปรากฎกับอนุชนตราบเท่าทุกวันนี้

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อธิการบดีพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มสธ. ร่วมมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่

       วันนี้ (26 ธ.ค. 2560) เวลา 11.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ ขัดเงางาม กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ รสลิน ศิริยะพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด พรมจุ้ย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สุรฤทธิกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.ราณี อิสิชัยกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการเงินและแผนงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คงสม รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการการศึกษา นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศรีสุขใส ผู้ช่วยศาสตราจารย์กชกร ณ นครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวิธ วงศ์ทิพย์ รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี และนางฉวีวรรณ ทัดทาน เจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์ มสธ. นำกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2561 แก่ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน อดีตอธิการบดีผู้ก่อตั้ง มสธ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช ณ วิจิตรภาคียสถาน เมืองทองธานี








              พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร มสธ.ได้เข้ามอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แก่รองศาสตราจารย์ ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ นายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ ห้องประชุมกิจการสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนั้น นายกสภามหาวิทยาลัย ได้กล่าวอวยพรให้กับคณะผู้บริหาร "ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขอให้คณะผู้บริหารทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง สดชื่น สมหวังตลอดปีและตลอดไปนะครับ"



วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 11 ราย

            วันนี้ (21 ธันวาคม 2560 ) เวลา 10.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ ขัดเงางามกรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธานการประชุมสภาวิชาการ ครั้งที่ 24/2560 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ 1 ชั้น 4 อาคารบริหาร

              
                พร้อมกันนี้ได้มีกิจกรรมการมอบดอกไม้แสดงความยินดีให้กับคณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีอธิการบดีและกรรมการสภาวิชาการร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้ และรายชื่อผู้ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 11 ราย มีดังต่อไปนี้

1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  วัฒนาพงษากุล
(สาขาวิชาภาคตะวันออก ภาษาเขมร) รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์

2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์  สังสรรค์อนันต์
(สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์

3. รองศาสตราจารย์ ดร.เขมณัฎฐ์  มิ่งศิริธรรม
(สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา) รองศาสตราจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา


4. รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา  กันตนามัลลกุล
(สาขาวิชาสัตว์ศาสตร์) รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์


5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์  รัตนโภคา
(สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์


6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพงษ์  ไสยโสภณ
(สาขาวิชาศึกษาศาสตร์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์


7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.อโนทัย  งามวิชัยกิจ
(สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การตลาด) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ



8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิร  ชินะโชติ
(สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ



9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย  สินสุวรรณ
(สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์



10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทยา  แก้วสาร
(สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์



11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรผ่อง  มยูขโชติ
(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

10 อาชีพมาแรง อนาคตรุ่ง

          สถานการณ์แรงงานไทยตลอดปลายปี 2559 จนถึงต้นปี 2560 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพบว่ามีคนว่างงานรวมทั้งสิ้น 146,168 คน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพไม่สอดรับ นโยบายของภาครัฐในปัจจุบันที่มุ่งเน้นยกระดับตลาดอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อยกระดับสู่สากล อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นที่ต้องเฟ้นหา "บุคลากรที่เชี่ยวชาญ"อย่างแท้จริง
กรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงานคาดหวังว่า หากเยาวชนได้เลือกเรียนสาขาวิชาที่สอดคล้อง

          กรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงานคาดหวังว่า หากเยาวชนได้เลือกเรียนสาขาวิชาที่สอดรับกับการเติบโตของตลาดอุตสาหกรรมดังกล่าว ย่อมส่งผลดีต่ออนาคตแน่นอน
 ในอดีตคนเรามีอาชีพให้เลือกทำอยู่ไม่กี่อาชีพตามความต้องการพื้นฐาน เช่น เกษตรกร ค้าขาย ทหาร ข้าราชการ เป็นต้น นั่นก็เพราะปัจจัยและสภาพแวดล้อมทางสังคมยังไม่เอื้อให้คนเรามีความต้องการมากนัก แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อสังคมโลกพัฒนาขึ้น ความต้องการของคนเราก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตาม เช่นเดียวกับอาชีพต่างๆที่มีมากขึ้น  แต่อาชีพไหนจะทำแล้วรุ่งบ้าง? ลองมาดูเทรนธุรกิจที่จะมาแรงในอนาคต ตามการวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำอย่าง Consulting firm McKinsey & Company

1. นักวิเคราะห์ข้อมูล
ยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงเช่นนี้ องค์กรที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้คือองค์กรที่รู้เท่าทันโลก สามารถวิเคราะห์ ตีความข้อมูล และแปลงผลลัพธ์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเฉียบขาด ดังนั้น“นักวิเคราะห์ข้อมูล” จึงกลายเป็นที่ต้องการของตลาด แต่คนที่จะทำงานด้านนี้ได้ จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ และการใช้ตรรกะวิเคราะห์ อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่พร้อมเปิดรับข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอ

2. นักจิตวิทยาบำบัด
คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือผู้ที่ทำงานในองค์กรซึ่งมีความกดสูงจำนวนไม่น้อยมีโรคประจำตัวคือโรคเครียดหรือซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากการแข่งขันในสังคม ดังนั้นคนเดียวที่ช่วยเหลือพวกเขาได้คือนักจิตวิทยาบำบัด สำหรับการให้คำปรึกษาชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในต่างประเทศอาชีพนี้ มาแรงมาก มีการคาดการณ์ว่า ตลาดนี้จะโตถึง 41%ในปี 2020 ทีเดียว

3. นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์
โรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกแห่งได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่ายิ่งขึ้น ดังนั้น ความต้องการแรงงานเฉพาะด้านทางชีววิทยา, เคมี, วิศวกรรม ฯลฯ จึงขยายตัวตามมาด้วย

4. วิศวกรคอมพิวเตอร์
อย่างที่รู้กันว่ายุคนี้คือยุคดิจิตอล ทำให้อะไรก็ล้วนแต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ดังนั้นตลาดจึงต้องการตัวผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาล ทุกภาคส่วนของธุรกิจต่างต้องนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร เช่น ธนาคาร ก็ต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่จะรองรับการทำธุรกรรมการเงินที่ขยายตัว, บริษัทขนาดใหญ่ ต้องการระบบ network ที่มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพ เป็นต้น

5. สัตวแพทย์
เดี๋ยวนี้คนนิยมเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น เพราะคนมีลูกกันน้อยลง อีกทั้งผู้สูงอายุก็มักหาสัตว์เลี้ยงเพื่อคลายเหงา สัตว์เลี้ยงจึงไม่เป็นแค่เพียงสัตว์เท่านั้นแต่ยังเป็นเสมือนเพื่อนและบุคคลในครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นคนเลี้ยงสัตว์จึงดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเองเป็นอย่างดี และจะมองหาสัตวแพทย์ที่ดีที่สุดเพื่อสัตว์เลี้ยง

6. วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ภาวะโลกร้อนจะไม่หมดไปง่ายๆ ดังนั้นพลังงานสะอาด หรือ พลังงานทางเลือกจึงเป็นอีกสิ่งที่คนสนใจ เพื่อมาทดแทนพลังงานที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น วิทยาศาสตร์สายสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกสายอาชีพที่ถูกรวมเข้าไปในอาชีพน่าสนใจ ในปี 2020 ดังที่เราได้เห็นการใช้ไฟฟ้าจากโซชาเซลล์ หรือจากกังหันลม เป็นต้น

7. อาชีพสายสุขภาพ
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่เกิน 10 ปี จำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นจะตามมาด้วยความต้องการดูแลรักษาสุขภาพ และการพยาบาล และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของไทยก็มักจะมีเงินเก็บจากการเกษียนงาน จึงค่อนข้างไม่มีปัญหาเรื่องใช้จ่าย ใครที่ทำอาชีพด้านนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์,สาธารณสุข, พยาบาล, ทันตแพทย์,เภสัชกร ฯลฯ รับรองว่าต้องรุ่งขึ้นอย่างแน่นอน

8. นักบริหาร (CEO)
รู้ไหมองค์ใหญ่หลายๆองค์กร ผู้ก่อตั้งไม่ได้เป็นคนบริหารงานเองแต่มักจะจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร (CEO) เข้ามาทำงานแทนตน นั่นเป็นเพราะการบริหารองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องดูแลตั้งแต่เรื่องบัญชี การเงิน ควบคุมการทำงาน ไปจนถึงการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงต้องมีทักษะหลายอย่างประกอบกัน แม้ว่าผู้ก่อตั้งจะมีความสามารถมากเพียงใดก็ยังต้องมีผู้ช่วยดูแลเรื่องนี้อยู่ดี ดังนั้น นักบริหารจัดการ และนักวางแผน จึงเป็นอาชีพมาแรงในอนาคต แต่ผู้ที่จะทำได้นั้นนอกจากจะต้องนอกจากจะต้องมีทักษะและความชำนาญหลายด้านแล้วแล้ว ยังต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเก่ง และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างชำนาญอีกด้วย

9. นักการเงิน
รูปแบบบริการทางการเงิน และการลงทุนทางการเงินที่ซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องมีนักการเงินที่มีความเชี่ยวชาญ  แต่ผู้ที่ปรอบอาชีพนี้จำเป็นต้องเก่งคณิตศาสตร์ เพราะจะต้องนำความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์มาใช้สำหรับการคำนวณ การพยากรณ์ และการประมาณการต่างๆ

10. ทำธุรกิจส่วนตัว
ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระและอยากพิสูจน์ความสามารถ โชว์ความคิดสร้างสรรค์ หลายคนจึงเลือกที่จะเปิดธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายสินค้าหรือบริการ หากมีการทำการตลาดดีๆก็มีสิทธิรุ่งได้ และกลายเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ปัจจุบันเรียกว่า START UP

      และนี่คือ 10 อาชีพมาแรงที่รุ่งในอนาคต หากว่าตรงสายงานของใครก็เร่งพัฒนาทักษะให้เชี่ยวชาญเหนือคู่แข่งไปเลย รับรองมีสิทธิประสบความสำเร็จกว่าใครเพื่อน แต่สำหรับคนไม่ตรงกับสายงานก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะสิ่งที่สำคัญสุดที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จได้ ก็คือความเพียรพยายามนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานจัดหางาน กรมแรงงาน
www.money.usnews.com
www.webythebrain.com

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มสธ.จับมือกระทรวงมหาดไทย พัฒนาศักยภาพด้านวิชาการให้แก่บุคลากรสังกัดกระทรวงมหาดไทย


       เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา นายสุธี  มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ ขัดเงางาม กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมลงนามความร่วมมือกับนายฉัตรชัย  พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักปกครองท้องที่ และการเพิ่มพูนคุณวุฒิ ให้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคลากรอื่นในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ  ลานหน้าอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ ขัดเงางาม กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันทางการศึกษา คำนึงถึงประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายและนักศึกษาเป็นสำคัญ  โดยสาระสำคัญคือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคลากรของกระทรวงมหาดไทยทุกระดับ สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรในสังกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          ตลอดระยะเวลา 10 ปี การันตรีจากจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กว่า 2,700 คน แสดงให้เห็นว่าโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและกระทรวงมหาดไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์ ก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงมหาดไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายอันได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล เกิดการเรียนรู้ในทางวิชาการอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการส่งเสริมด้านคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปพัฒนาท้องที่และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากความร่วมมือดังกล่าวยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การต่อยอดความรู้ในท้องที่ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กิจกรรม มสธ. ‘อาสา รักษ์ป่า รักษ์สมุย’

       กิจกรรม มสธ. ‘อาสา รักษ์ป่า รักษ์สมุย’

     เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560 นักศึกษา มสธ. สุราษฏร์ธานี ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรม "มสธ. อาสา รักษ์ป่า รักษ์สมุย" เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย ป่าชายเลน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่อยู่่อาศัยของสัตว์นานาชนิดให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์




     กิจกรรมได้เริ่มจากการนัดรวมตัวนักศึกษา มสธ. ที่โรงเรียนเกาะสมุย เพื่อเข้าอบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการศึกษาทางไกล และวิธีการเตรียมตัวสอบ เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการเรียนให้ประสบผลสำเร็จของการเรียนใน มสธ.
     ภายหลังการอบรม อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพร้อมกับ นายณะรบ ทวยเจริญ ประธานสภาเทศบาลนครเกาะสมุย กว่า 50 คน นำต้นกล้าไปร่วมกันปลูกที่บริเวณป่าริมคลองวัดทะเล โดยพร้อมเพรียงกัน
    "อยากให้ทุกคนตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบส่วนบุคคลในชุมชนบ้านของเราเพื่อให้ประเทศไทยที่เรารัก และสวยงามที่สุด" นางศมนันท์ ดำดี หรือคุณลิซ นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าว

 

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มสธ.จัดการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการและดำเนินงานของคณะทำงานประเมินและวิจัยติดตามผลสื่อการเรียน

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการและดำเนินงานของคณะทำงานประเมินและวิจัยติดตามผลสื่อการเรียน โดยมี รองศาสตราจารย์  ดร.นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิฯเข้าร่วมการประชุมเพื่อดำเนินการหารือการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการทำวิจัย พร้อมกันนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชมการผลิตและออกอากาศรายการโทรทัศน์ STOU Channel ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อีกด้วย




วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มสธ.ร่วมถวายพานพุ่มวันรัฐธรรมนูญ

วันนี้(10 ธ.ค.2560) เวลา 07.30 น. รองศาสตราจารย์รสลิน ศิริยะพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี สุรฤทธิกุลรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ คณาจารย์ ผู้อำนวยการสำนักต่างๆ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้ ถวายบังคม พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องใน พระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ วันรัฐธรรมนูญ ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา

ทั้งนี้ วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย