วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

  "บรรณสาร Book Fair" 61 

      
         วันนี้ (23 พ.ย. 2560 ) เวลา 09.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจาย์ทวี สุรฤทธิกุล รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดงานกิจกรรม "บรรณสาร Book Fair" 61  พร้อมเลือกเดินชมหนังสือที่ร่วมออกร้าน และร่วมกิจกรรมต่างๆภายในงาน ณ บริเวณชั้นล่าง อาคารบริหาร
         


             
       สำนักบรรณสารสนเทศ ในฐานะผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม บรรณสาร Book Fair” 61 มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด โดยห้องสมุดจะต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดหาและให้บริการสื่อการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าทางวิชาการของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณาจารย์ในสาขาวิชาต่างๆ ในการผลิตชุดวิชาเพื่อการเรียนการสอน ในขณะเดียวก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร นอกจากการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดแล้ว ภายในกิจกรรมได้มีร้านค้า สำนักพิมพ์ต่างๆที่มีชื่อเสียง จำนวนกว่า 30 แห่ง มาร่วมออกร้าน พร้อมด้วยกิจกรรมเสริมสร้างการใช้ห้องสมุดในโอกาสเดียวกัน ได้แก่ ซ่อมเองได้...ง่ายจังพบนักเขียนนามปากกา วัตตราหาได้ให้รางวัล ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก กิจกรรมมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย. 2560 ณ บริเวณชั้นล่าง อาคารบริหาร และอาคารบรรณสาร มสธ.

ที่มา :
ภาพถ่าย : ธีรพล ศรีเป๊ะบัว  งานประชาสัมพันธ์ มสธ.
ข่าว       : นิติ พานนาค      งานประชาสัมพันธ์ มสธ.  
       

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

 วันกองทัพเรือ (อังกฤษ: Royal Thai Navy Day)
 
     ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆ

     ต่อมาภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

     ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น และในปี พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) มีนาวาโทไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เหนการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบต่อไปในภายน่า

           ต่อมาภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) รัชกาลที่ 5 ทรงห่วงว่า ทหารจากต่างประเทศที่เข้ามาประจำตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะมีกำลังไม่มากที่พอที่จะรักษาอธิปไตยของชาติได้ และอาจจะรักษาอธิปไตยได้ไม่ดีเท่าคนไทยด้วยกันเอง จึงประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย เพื่อให้มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ แทนชาวต่างชาติได้  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ "พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

           ทั้งนี้ หลังจากพระราชโอรสทรงสำเร็จการศึกษา จึงทรงกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ และจัดฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกบริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ เพื่ออบรมนายทหารชั้นประทวน และฝ่ายช่างกล  ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ทรงตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น จากนั้นในปี พ.ศ. 2440 ได้ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรืออีกโรงเรียนหนึ่ง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2442 ได้ตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น ซึ่งตั้งอยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) โดยมี นาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก

           และในปีถัดมา (พ.ศ. 2443) เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชวังดังกล่าวให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา
          โดยได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน มีความว่า...

           "วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ. 125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า"

          ทั้งนี้ ทางราชการทหารเรือ จึงได้ถือ "วันกองทัพเรือ" เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี ตราบจนปัจจุบัน

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

มอบทุนการศึกษา มสธ.




มอบทุนการศึกษาแก่ มสธ.
              เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักบริการการศึกษา พร้อมด้วยหัวหน้าศูนย์/ฝ่าย ของสำนักบริการการศึกษา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยรับมอบทุนการศึกษาจากรองศาสตราจารย์ ดร.จินดา  ขลิบทอง โดยมีรายชื่อผู้ร่วมมอบทุนสนับสนุน ดังนี้
นายบุญเลิศ  มหาวิเศษศิลป์ จำนวน 5 ทุนๆ ละ 8,000 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
รองศาสตราจารย์ ดร.จินดา  ขลิบทอง จำนวน 3 ทุนๆ ละ 8,000 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท

             และในวันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญผู้อำนวยการสำนักบริการการศึกษา พร้อมด้วยนายวรชาติ อำไพ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายแนะแนวการศึกษา ยังได้เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยรับมอบทุนการศึกษาจาก ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา  สัจจานันท์ อีกจำนวนถึง 100,000 บาท

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มสธ. ครั้งที่ 7

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ มสธ.